เปิดคลังสมบัติกว่าพันล้าน! ของมหาเศรษฐีผู้ทำเครื่องประดับสุดหรูแก่ไฮโซไทย กว่าจะมีวันนี้เคยถูกหลอกมานับไม่ถ้วน!

คอมเมนต์:

มหาเศรษฐีผู้เนรมิตเครื่องประดับสุดหรูแก่เหล่าไฮโซเมืองไทย กว่าจะมีวันนี้เคยถูกหลอกมานับไม่ถ้วน!

        เรียกได้ว่าเป็นมหาเศรษฐีหัวใจอาร์ตที่หลงใหลประวัติศาสตร์ ชอบศิลปะวินเทจ บอกเลยว่าถ้าเห็นสมบัติคุณรอล์ฟ เจ้าของ Lotus Arts de Vivre สุดยอดอาร์ตเฮาส์ระดับโลก ผู้กุมหัวใจไฮโซและเศรษฐีเมืองไทย ด้วยผลงานรังสรรค์เครื่องประดับและเฟอร์นิเจอร์ ที่งดงามน่าทึ่งราวกับวัตถุศิลป์ เป็นต้องมีอึ้ง! เพราะถ้าถามราคาซื้อขายแต่ละชิ้น ณ จุดนี้เขาบอกผ่านๆ ว่า รวมแล้วหนีไม่พ้นเลขสิบหลัก!

        จากความประทับใจวัยเด็กที่ได้เห็นบ้านผู้หลักผู้ใหญ่ในยุโรปมีห้องเก็บของแต่งบ้านจากเมืองจีน บางชิ้นเป็นงาน “ชินัวเซอรี” (Chinoiserie) เป็นดีไซน์จีนที่ปรับให้เข้ากับรสนิยมคนยุโรป ทำให้เขาเห็นของโบราณแปลกๆ ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม งาช้าง งานแกะสลักต่างๆ ฯลฯ ซึ่งกว่าจะรู้ว่าชิ้นไหนสวยหรือหายาก เขาต้องศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่อยอดมาเรื่อยๆ

 

Sponsored Ad

 

        “เคยถูกหลอกให้ซื้อของปลอม ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่ดีทีเดียว หรือบางครั้งสะสมแล้วต้องนำออกมาขาย เพราะไม่มีเงินพอจะสะสมได้ครบทุกคอลเล็คชั่นเหมือนนักสะสมมืออาชีพ แล้วค่อยเริ่มซื้อของที่ราคาพอสมควร หรือของที่ไม่มีใครสนใจ แต่อีก 20 ปีข้างหน้าจะมีคุณค่า หายาก นักสะสมที่ดีต้องซื้อมาและขายไปด้วย เพราะเราไม่มีที่เก็บเพียงพอ จึงเก็บทุกอย่างไม่ได้”

 

Sponsored Ad

 

        คุณรอล์ฟในชุดมหาราชาของอินเดีย เคยใส่ในงานพิธีเสกสมรสของราชวงศ์อุไดเปอร์ เมืองชัยปุระของอินเดีย

        คุณรอล์ฟสวมชุด “ชูบา” เครื่องแต่งกายทำจากผ้าไหม ปักรูปมังกร แสดงถึงสัญลักษณ์จักรพรรดิ ชุดนี้เป็นของเจ้านายราชวงศ์ทิเบต สำหรับใส่ในพิธีต่างๆ

 

Sponsored Ad

 

        ด้านหลังเป็นชุดเครื่องแบบคณะรัฐมนตรี ส่วนด้านขวาของภาพเป็นเครื่องแบบกัปตันทหารเรือ อายุกว่า 200 ปีของญี่ปุ่น ยุค The Last Samurai

        คุณรอล์ฟเล่าว่า “ในอดีตญี่ปุ่นถูกปกครองโดยโชกุนและซามูไร ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมสวมชุดซามูไร กระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงเห็นว่าควรปรับปรุงประเทศญี่ปุ่น เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ จากชาติตะวันตก จึงเปิดให้กองทัพเรืออเมริกันเข้ามา ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างซามูไรและทหารฝรั่ง ซึ่งหลายคนรู้จักดีในชื่อ ‘The Last Samurai’ อีก 5 ปีถัดมาจักรพรรดิจึงมีรับสั่งให้เปลี่ยนเครื่องแบบรัฐมนตรีที่ใส่ตอนประชุมครม.ตามแบบตะวันตก โดยปักรูปดอกเพาโลเนีย (Paulownia) ก่อนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เฉพาะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในปัจจุบัน

 

Sponsored Ad

 

        “ชุดที่ผมได้มาเป็นของเชื้อพระวงศ์นาม ‘อมารี’ ยังมีป้ายชื่อและของครบทุกชิ้น ตั้งแต่หมวก บั้ง ถุงมือ ถุงเท้า บุหรี่ อีกชุดเป็นเครื่องแบบทหารเรือ ผลิตหลังจากนั้น 10 ปี ซึ่งจากการหาข้อมูลทำให้รู้ว่าอมารีมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เชื่อว่าใครเห็นของเซตนี้ต้องซื้อ เพราะเท่ากับเราได้ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมาเก็บสะสมด้วย”

        “อานม้าใช้ในพิธีเฉลิมฉลองของทิเบต อายุกว่า 400 ปี ทำจากเมือง Derge หนึ่งในสามเมืองประวัติศาสตร์ทิเบตที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการหล่อและแกะสลักเหล็กให้ราชวงศ์ โดยการแกะสลักลายมังกรทองบนเหล็กด้วยมือ และผมตกแต่งเพิ่มด้วยเพชรทิเบตเกือบ 4 กะรัต ใช้ ‘ผ้าโบรเคท’ ทอจากเส้นไหมทองและเงิน ปักลวดลาย เป็นผ้าบุอานม้า เพิ่มความอบอุ่นด้วยพรมทอมือ ‘Khotan Carpet’ ของทิเบต ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าคุณภาพพรมที่ผลิตในแถบนี้สวยงามและคงทน เป็นอานม้าสำหรับให้สมภารวัดขี่ไปประกอบพิธีที่เจดีย์ปีละ 2 ครั้ง สภาพจึงยังสมบูรณ์”

 

Sponsored Ad

 

        ส่าหรีปักทองคำ – ทับทิม – มุก อายุกว่าร้อยปี มีชิ้นเดียวในโลก เพราะเป็นส่าหรีจากเมืองลัคนาว (Lucknow) เมืองหลวงหนึ่งในรัฐอุตตรประเทศ อินเดีย ปักด้วยทองคำและพลอยแท้ มรกต และมุก ยาว 7 เมตร หนัก 7 กิโลกรัม ทำเพื่อใช้ในพิธีแต่งงานของหญิงสูงศักดิ์ ซึ่งต้องพิถีพิถันในการเก็บรักษา โดยมีพลาสติกคลุมชั้นนอก และมีกระดาษรองซ้อนผ้าด้านในก่อนม้วนเก็บ เพื่อไม่ให้ทองคำและอัญมณีเกี่ยวกันจนเสียหาย รวมทั้งต้องมียาป้องกันมอดติดตู้ไว้ด้วย

 

Sponsored Ad

 

        “ภาพ Self-Portrait ของศิลปินบรมครู ‘ถวัลย์ ดัชนี’ เกือบทุกรูปที่เขาสเก็ตช์เป็นภาพเกี่ยวกับไฟและลม รวมถึงรูปพอร์เทรตตัวเขาเอง เวลานั้นเขาสเก็ตช์เล่นๆ จึงยกทั้งหมดให้ แต่ผมเลือกแค่สิบภาพเท่านั้น ทุกวันนี้ซื้อขายกันเป็นสิบล้าน เพราะเขาเป็นศิลปินยอดเยี่ยมที่ไม่มีใครทำได้เหมือนเขา ผมดีใจที่ได้เป็นเพื่อนเขามาตลอดชีวิต ต้องเรียกว่าผมโชคดีที่ได้เดินทางไปทิเบต เนปาล เยอรมนี บาหลี ฯลฯ พร้อมกับเขา ไปเดินทิเบตด้วยกัน ทุกคนค้อมตัวให้ พร้อมกับเอ่ยปากถามเขาว่า ‘Are you a monk?’ ถวัลย์ตอบว่า ‘I am a Monkey’ (หัวเราะ)

Sponsored Ad

        “‘ทังก้า’ ภาพวาดพระพุทธเจ้าอายุ 600 ปี มีเพียง 20 ชิ้นในโลก หนึ่งในนั้นอยู่ในความครอบครองของเขากว่า 30 ปี เป็นงานพุทธศิลป์ระดับสูง แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกเล่าเรื่องราวพระพุทธองค์ ตามบ้านชาวทิเบตจึงนิยมแขวนภาพทังก้าไว้บูชา เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า คอลเล็คชั่นนี้วาดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 ด้วยสีธรรมชาติที่ได้จากแร่ธาตุของเทือกเขาหิมาลัย บดผสมยางไม้และน้ำแร่ วาดด้วยเกรียงทำจากเขาจามรี สีทองทำจากทองคำแท้ มีทั้งภาพเทพเจ้าดูแลสุขภาพ เทพผู้ชนะความตายหรือสิ่งชั่วร้าย องค์ทะไลลามะ รูปพระศรีศากยมุนี ฯลฯ”

        ชุดผ้าไหมมองโกล อายุเกือบ 200 ปี ทำจากผ้าไหมปักดิ้นทอง ใช้ในวังมหาราชาของอินเดีย ชุดของผู้ชายสีเขียว ผู้หญิงสีชมพู

        เสื้อซามูไรอายุเกือบร้อยปี

        “การเลือกสะสมหรือไม่สะสมอะไร ผมยึดความชอบของตัวเองเป็นหลัก ถ้าเห็นอะไรสวยและรู้ว่าน่าสนใจ เพราะรู้วิธีผลิต กว่าจะทำออกมาได้ขนาดนี้ต้องกินเวลาและใช้ฝีมือขนาดไหน และต่อจากนี้มีโอกาสผลิตซ้ำไหม ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจเลือกสะสมของสิ่งนั้น”

        ตุ๊กตาเครื่องเคลือบดินเผารูปขันทีจีน อายุกว่า 150 ปี ทำโดยชาวตะวันตก ซึ่งคิดว่าขันทีจีนต้องตัวอ้วนๆ มีนมคล้ายผู้หญิง สามารถกระดกลิ้น หัว และมือได้ด้วย เป็นตุ๊กตากระเบื้องที่สวยงามและหายาก

        หมวกทหารมีตราสัญลักษณ์องครักษ์จักรพรรดิเยอรมนี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นของหายากมากในเยอรมนี เพราะถูกทำลายเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาดคุณรอล์ฟเป็นชาวเยอรมันเอง ยังได้หมวกใบนี้จากฮ่องกง ส่วนแผ่นเหล็กใกล้ๆ กัน ติดอยู่บนประตูวัดอายุ 250 – 300 ปี

        “ข้าวของเหล่านี้ผมรู้จักที่มาที่ไปทุกชิ้น ทำให้ได้ซึมซับความทรงจำที่ดี บางครั้งการเป็นนักสะสมที่ดีอาจไม่จำเป็นต้องสะสมของมีราคาหรือต้องมีครบทุกรุ่น

        “ขอแค่ทำแล้วมีความสุข อาจเพียงพอแล้วสำหรับการเป็นยอดนักสะสม”


ข้อมูลและภาพจาก praew

บทความที่คุณอาจสนใจ