ต้นทุนชีวิตต่ำ เป็นลูกชาวนายากจน พ่อแม่ส่งเรียนไม่ไหว สู่แพทย์หญิง ผู้บุกเบิกคลินิกเด็กชนบท

คอมเมนต์:

ต้นทุนชีวิตยิ่งต่ำ กำไรชีวิตยิ่งมาก

เรื่องราวของสาวสู้ชีวิตที่แม้ว่าจะไม่ได้มีต้นทุนชีวิตที่ดีเหมือนคนอื่น แต่เธอก็นำสิ่งนั้นมาเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองประสบความสำเร็จ จนสามารถเป็นแพทย์หญิงที่ดีได้อย่างทุกวันนี้ 

ต้นทุนชีวิตยิ่งต่ำ กำไรชีวิตยิ่งมาก 

 

Sponsored Ad

 

แม้มาจากดิน หากหัวใจใฝ่ดีก็ประสบความสำเร็จได้ด้วย "ความเพียร" 

    ประโยคข้างบนนี้คงเป็นคำกล่าวที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับเรื่องราวชีวิตของ พญ.สาธิตา เรืองสิริภคกุล หรือ หมอป้อม วัย 41 ปี กุมารเเพทย์ ที่เป็นทั้งหมอเด็กและหมอฟ อ ก เ ลื อ ด ผู้ใหญ่ด้วยเครื่องไ ต เ ที ย ม รพ.บรบือ จ.มหาสารคาม อีกทั้งยังเป็นแรงบรรดาลให้กับใครหลายๆคนที่กำลังสู้ชีวิต

 

    โดยหมอป้อม เป็นแพทย์เฉพาะทางคนแรกที่มาปฏิบัติงานใช้ทุนในโรงพยาบาลบรบือ รพ.ชุมชนขนาด 60 เตียง ตั้งแต่ พ.ศ. 2551  ที่ไม่มีระบบอะไรรองรับไว้ มีเพียงบ้านพักแพทย์ 1 หลังและเเอร์ 1 ตัว ระยะเวลากว่า 10 ปี ที่เธอมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อ บุกเบิกสร้างและพัฒนาระบบการทำงานให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ดูแลผู้ป่วยเด็ก อายุ 0-15 ปีมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ บุกเบิกคลินิกเฉพาะ โ ร ค เ รื้ อ รั ง ในเด็ก ได้แก่ คลินิกโ ร ค หื ด  คลินิก ธ า ลั ส ซี เ มี ย คลินิกพัฒนาการเด็ก ช่วยให้ผู้ ป่ ว ย เข้าถึงบริการทั้งด้านการวิ นิ จ ฉั ย รั ก ษ า ก ร ะ ตุ้ น พัฒนาการ และการส่งต่ออย่างมีระบบ

 

Sponsored Ad

 

    รวมทั้งตั้งหอผู้ ป่ ว ย ทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤติ (Semi-NICU) ขนาด 4 เตียง ในโรงพยาบาลบรบือ สามารถดูแลทารกแรกเกิดทั้งคลอดก่อนกำหนดและครบกำหนด เพื่อตอบแทนสังคมและให้ผู้ ป่ ว ย เด็กในพื้นที่ได้เข้าถึงบริการมากขึ้น จนปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชนขยายเป็น 120 เตียง 

    เพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ให้หมอสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่าง พัฒนาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนโดยแพทย์สม่ำเสมอ ผู้ป่วยได้รับย า ทุกขนานตามมาตรฐานที่ควรจะได้ เท่าที่ รพ. จะให้ได้ เวลาเส้นชีวิต  ผ่ า ตั ด ทำ เ ส้ น ล้ า ง ไ ต (AVF) หรือ ผู้ป่ ว ยที่ ผ่ า ตั ด ทำ เ ส้ น ฟ อ ก ไ ต จากเส้น เ ลื อ ด เ ที ย ม  (AVG) ดับ ก็มีหมอรีบมา เ เ ท ง เ ส้ น ฟ อ ก ชั่วคราวให้ ไม่ต้องส่งตัวไป รพ. ใหญ่ 

 

Sponsored Ad

 

    จากคนไข้หลายคนที่รู้สึกสิ้นหวัง ไม่อยากมีชีวิตสู้โ ร คกลับกลายเป็นอยากอยู่กับครอบครัวให้นานที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนไ ข้ ไม่ได้มีความสำคัญ เพียงเเค่ตัวเลขจำนวนคนไ  ข้ที่เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นเท่านั้น สำหรับ หมอป้อมนั้น คือ คุณค่าทางจิตใจ รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำให้เด็กๆ และพ่อแม่ของพวกเขามีความสุขเช่นกัน

 

Sponsored Ad

 

    “รู้สึกตื่นเต้นเเละดีใจที่เรียนจบกุมารเเพทย์สมความตั้งใจ ได้มาอยู่ รพ.บรบือ แต่ตอนนั้นก็รู้สึกกังวล เพราะไม่มีระบบรองรับเเพทย์เฉพาะทางเลย เป็นคนเเรกที่มาอยู่ รพ.บรบือ ต้องมา set ระบบเองทั้งหมด ตอนนี้อยู่มา 10 กว่าปีแล้วไม่คิดย้าย เพราะผูกพันกับคนไข้ที่นี่ เด็กบางคนเห็นเขาตั้งแต่เล็กๆ มหาสารคามเป็นภูมิลำเนา ใกล้บ้านเกิด อยากให้คนไข้ในชนบทมีโอกาสเข้าถึงการรักษาจากเเพทย์เฉพาะทาง ในโรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับโรงพยาบาลจังหวัดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้” 

 

Sponsored Ad

 

    กว่า รพ.บรบือ จะมีหมอป้อม ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่มีความเสียสละอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนนั้น หมอป้อมต้องสอบชิงทุน และทำงานหนักเพื่อส่งตัวเองเรียน เพราะฐานะยากจน เกิดและเติบโตในครอบครัวชนบทห่างไกล ใน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ต้องปั่นจักรยานสีแดง คันเก่าๆ ที่มีแต่สนิมไป-กลับ 24 กม. ต่อวัน บนถนนลูกรัง ขณะเรียนชั้น ม.1-ม.3

 

Sponsored Ad

 

    “มีความตั้งใจเป็นหมอตั้งแต่เรียนประถมศึกษา รู้สึกว่าชอบ และได้แรงบันดาลใจจากที่ตัวเองป่ ว ย บ่อย คุณแม่ก็ป่ ว ย เป็นโ ร ค หั ว  ใ จ และได้รับการ ผ่ า ตั ด จนดีขึ้น เห็นหมอใน รพ. ช่วยคนไ ข้จนหาย ก็อยากเป็นแบบนั้นบ้าง จึงเกิดความรู้สึกว่าจะต้องเป็นหมอให้ได้”

    เพราะความตั้งใจแน่วแน่อยากเป็น “หมอ” ถึงแม้ยากจน เป็นลูกชาวนา แต่หมอป้อม บอกว่า ต้นทุนที่เธอมีนั่นคือ “ความเพียร” ยามปิดเทอมก็ช่วยน้าขายก๋วยเตี๋ยวที่ กทม. ได้เงินเก็บไว้เป็นทุนเรียน 1,100 บาท ปูทางการเป็นหมอตั้งแต่ ม. 5 มุ่งมั่นอ่านหนังสือจบทุกวิชาภายใน 1 ปี จน ม.6 เทอมปลาย สอบโควตาเข้าคณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ได้สำเร็จ ท่ามกลางความงงงวยของครูและเพื่อนๆ ซึ่งไม่มีใครคิดว่าจะสอบติด

Sponsored Ad

    เธอดีใจได้ไม่นานก็ต้องพบกับความผิดหวัง ร้องไห้เสียใจจนไม่มีน้ำตาเพราะสอบตกสัมภาษณ์ ได้อันดับสำรองที่ 15 แม้มีอุปสรรคแต่เธอยังมุ่งมั่น ตั้งใจว่าจะอ่านหนังสือและสอบ Entrance ใหม่ แต่ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจนได้เรียนแพทย์สมดังหวัง

    “เป็นเรื่องที่ไม่เคยลืมเลย วันนั้นช่วยแม่ขายของอยู่ที่บ้าน จู่ๆ มีกระดาษปลิวมาโดนเท้า หยิบมาอ่าน แล้วก็อึ้ง พูดอะไรไม่ออก เพราะในกระดาษบอกให้ไปรายงานตัวเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ในวันพรุ่งนี้ โชคดีมากๆ ที่โทรเลขใบนี้ปลิวมา พ่อกับแม่ก็ดีใจด้วย แต่กังวลกลัวส่งเรียนไม่ไหว ”

    แม้จะมีต้นทุนชีวิตติดลบ แต่อาจเพราะโชคชะตาลิขิตให้เธอเป็น “แพทย์” ในปีแรกที่เธอเข้าเรียน เกิดกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ขึ้นเป็นปีแรกเช่นกัน เธอจึงโชคดี ตลอด 6 ปีในคณะแพทย์ ม.ขอนแก่น กระทั่งเรียนจบด้วยเงินกู้จาก กยศ. ทั้งสิ้น 300,000 บาท และทุนอาหารกลางวันของมหาวิทยาลัยเดือนละ 800 บาท รวมถึงทุนการศึกษาจาก บ.โอสภสภา 30,000 บาทต่อปี รวมเงินที่ใช้ทั้งหมดตลอด 6 ปีในการเรียนแพทย์ทั้งสิ้น 537,600 บาท

     “ตอนนั้นคิดไม่ออกเหมือนกัน ถ้าไม่มีเงินกู้ กยศ. เงินทุนจากโอสถสภา และทุนอาหารกลางวันของมหาวิทยาลัย คงต้องอาศัยปู่ พ่อ แม่ ส่งเรียน แต่ก็ลำบากใจเหมือนกันว่าจะมีทุนทรัพย์ทำให้เรียนจบไหม เพราะพ่อกับแม่ก็ไม่มีเงินตอนนั้น ได้เงิน กยศ. เดือนละ 2,500 ก็นำมาใช้จิปาถะ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียนบางส่วนที่ต้องซื้อเอง จริงๆ บางเดือนไม่พอใช้ก็ยืมเพื่อน พอเงิน กยศ. เข้าก็ใช้คืน ไม่ได้หารายได้พิเศษเพราะไม่มีเวลา เรียนหนัก ยืมเพื่อนอยู่เรื่อยๆ โชคดีเจอเพื่อนดี ช่วยแลดูแลกันและกันมาเรื่อย”

    อย่างที่รู้กันว่าการเรียน “แพทย์” นั้น ทั้งเรียนหนัก และยาก บางคนเรียนไม่ไหวจนต้องเปลี่ยนไปเรียนด้านอื่นก็มี แต่สำหรับ พญ.สาธิตานั้น เธอบอกว่า ไม่เคยรู้สึกท้อกับการเรียนสักครั้ง แม้ต้องเรียนหนักก็ตาม นั่นเป็นเพราะความมุ่งมั่นอยากเป็น “แพทย์” สำหรับเคล็ดลับการเรียนดีกระทั่งเรียนจบ โดยไม่ได้เรียนพิเศษสักครั้งในชีวิต เทคนิคที่ใช้คือ “ความขยัน”

    “จริงๆ ไม่ได้เป็นคนเก่ง อาศัยความขยัน ความเพียร สมัยเรียนมัธยม ถ้าอ่านรอบเดียวไม่เข้าใจ ก็อ่าน 3 รอบ หากเป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากก็ต้องฝึกทำหลายๆ รอบ เวลาเรียนก็นั่งแถวหน้าจะได้มีสมาธิ เวลาอาจารย์ให้ทำอะไรหน้าห้องก็เสนอตัวเองบ่อยๆ ฝึกทำก็จะเกิดความมั่นใจ พอเรียนแพทย์เรียนหนักมาก ยาก และเครียด โดยเฉพาะปี 3-6 เพราะเรียนวิชาเเพทย์ล้วนๆ อยู่ในโรงพยาบาล ต้องเรียนรู้กับคนไข้ที่มีทั้งยากง่าย รู้สึกกดดัน แต่พอนึกถึงเป้าหมายอยากเป็นหมอก็มีพลังฮึดสู้ต่อ”

    หลังเรียนจบแพทย์ สอบผ่านได้วุฒิบัตรกุมารเเพทย์ และได้ทำงาน รพ.บรบือ จ.มหาสารคาม เป็นแพทย์เฉพาะทางคนแรกที่มาปฏิบัติงานใช้ทุนใน พ.ศ. 2551 ภายใน 4 ปี ต่อมา พญ.สาธิตา ก็ชำระเงินกู้ กยศ. หมด ตามเจตนารมณ์ของตัวเองที่ยึดมั่นมาตลอดตั้งแต่เรียน คือ ความรับผิดชอบ เมื่อมีงานทำ ไม่มีความเดือดร้อน ควรผ่อนชำระคืนเป็นรายปี หรือผ่อนชำระเป็นรายเดือน มีน้อยใช้น้อย ค่อยๆ ชำระเดี๋ยวก็หมดและให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อได้รับโอกาสจาก กยศ. แล้ว ควรส่งต่อโอกาสดีๆ ให้รุ่นน้องต่อๆ ไป 

    ชีวิตการทำงานแพทย์ในชนบทตั้งแต่ พ.ศ.2551 ที่ รพ.บรบือ จ.มหาสารคาม พญ.สาธิตา บุกเบิกสร้างระบบการทำงานในฐานะกุมารแพทย์ รพ.ชุมชน เพิ่มศักยภาพให้ตัวเอง และ รพ. มากขึ้นๆ เรื่อยๆ อดทนเพียรพยายามในหลายๆ สิ่งในหน้าที่การงาน พัฒนาตนเองจนสามารถก้าวผ่านการเป็นนายแพทย์ปฏิบัติการ ชำนาญการ 6 ชำนาญการ7 ชำนาญการพิเศษ 8 และปัจจุบัน นายแพทย์เชี่ยวชาญ C9 ในแต่ละช่วงชีวิต พญ.สาธิตา ต้องพบเจออุปสรรคที่ไม่คาดคิด รู้สึกท้อบ้าง แต่ก็ก้าวผ่านไปได้ เพราะอยากให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

    “ถ้าอยากประสบความสำเร็จเรื่องใดก็ตามให้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากเป็นอะไร ระหว่างทางเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตต้องมีอุปสรรคข้างทางเป็นระยะ แต่ให้เชื่อว่าถ้าเดินไปโดยไม่ถอยหลังกลับ สุดท้ายจะผ่านไปได้ และถึงเป้าหมายแน่นอน หมอก็ผิดหวังมาหลายครั้งกับเรื่องไม่คาดคิด รู้สึกเฟล ท้อ แต่มีความรู้สึกแค่ 3 วัน พอนึกถึงเป้าหมายแล้วก็จะมองข้ามอุปสรรคไปได้” แพทย์ทุนคนแรกของ รพ.บรบือกล่าว

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

    พญ.สาธิตา เธอถือเป็นตัวแทน “แพทย์” ที่ดีมีความเสียสละเพื่อโรงพยาบาลชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีให้สังคม เป็นแพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพและดูแลคนไข้ด้วยหัวใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่ยากไร้ที่ถึงแม้ต้นทุนชีวิตน้อยก็มีกำไรชีวิตมากได้ หากมีความขยัน หมั่นเพียร ก็นำพาความสำเร็จในชีวิต และเติบโตเป็นคนมีคุณภาพของสังคมได้

ข้อมูลและภาพจาก thairath,กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

บทความที่คุณอาจสนใจ