เปิดประวัติ "เตรียม ชาชุมพร" เบื้องหลังผู้วาดภาพประกอบ แบบเรียน "มานะมานี" ในอดีต!

คอมเมนต์:

มานะ มานี​ ปิติ ชูใจ​ อยู่​ใน​ความ​ทรง​จำเสมอ...

        เชื่อว่าคงไม่มีใครลืมภาพประกอบในหนังสือเรียนเล่มแรก อย่างแบบเรียนภาษาไทยชุด "มานะมานี" นี่คือผลงานสร้างชื่อของ "เตรียม ชาชุมพร" ศิลปินลูกอีสาน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกยกให้เป็นความหวังของวงการนักเขียนการ์ตูนไทย ด้วยความเชื่อที่ว่า การ์ตูนมีพลังพิเศษ เปลี่ยนเด็กในวันนี้ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าได้ ทำให้ผลงานของชายคนนี้จึงอยู่ในใจของใครต่อใครเสมอมา

        "เตรียม ชาชุมพร" เกิดที่บ้านหนองหวาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนบ้านหนองหวาย แล้วไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนสิทธิธรรมวิทยาศิลป์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ. 3) 

 

Sponsored Ad

 

        ระหว่างที่เรียนในช่วงปลาย ม.ศ. 3 เตรียมก็ได้รู้จักกับจุลศักดิ์ อมรเวช หรือ จุก เบี้ยวสกุล นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสิทธิธรรมวิทยาศิลป์ที่เขาเรียนอยู่ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของจุก เบี้ยวสกุล กระทั่งเมื่อจบ ม.ศ.3 แล้ว เตรียมจึงทำงานเป็นครูผู้ช่วยสอน และสอบได้วาดเขียนโท โดยเขาสอนหนังสือและเขียนการ์ตูนไปด้วย

 

Sponsored Ad

 

จุลศักดิ์ อมรเวช หรือ จุก เบี้ยวสกุล

        เมื่อฝีมือใช้ได้ จุก เบี้ยวสกุล จึงนำงานการ์ตูนของเตรียมไปเสนอให้ทีมงานหนังสือการ์ตูน “ท้อปป๊อป” ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนแนวนิยายภาพพิจารณาตีพิมพ์ เตรียม ชาชุมพร จึงได้เปิดตัวครั้งแรกในหนังสือ “ท้อปป๊อป” ด้วยเรื่อง “มังกรผยอง” นิยายภาพแนวเรื่องจีนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในเวลานั้น แต่ได้ลงพิมพ์เพียงตอนเดียวเท่านั้น เนื่องจาก “ท้อปป๊อป” ได้ปิดตัวเองลงในเวลาต่อมา

 

Sponsored Ad

 

        หลังจากสอนหนังสืออยู่ 2 ปี เตรียมก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และนำผลงานของเขาไปเสนอต่อ อ.วิริยะ สิริสิงห ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้จัดทำนิตยสาร “ชัยพฤกษ์ ฉบับวิทยาศาสตร์” ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช “ชัยพฤกษ์การ์ตูน” แห่งนี้เองที่ศักยภาพของเตรียมได้เปล่งประกายออกมาอย่างเต็มที่ ทำให้ฝีมือของเตรียมก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนสามารถก้าวขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าของวงการนักวาดการ์ตูนในยุคนั้น

.

 

Sponsored Ad

 

        ต่อมาเมื่อนิยายภาพเรื่อง “เพื่อน” ได้ตีพิมพ์ใน “ชัยพฤกษ์การ์ตูน” ชื่อเ สียงของเตรียมก็ยิ่งเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยนิยายภาพชุดนี้มีเค้าโครงมาจากเรื่องสั้นชื่อ “รุ่นกระทง” ของ “มน เมธี” เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเด็กชายชาวชนบทกับเด็กหญิงชาวกรุงที่มีโอกาสได้รู้จักกัน และได้ใช้ช่วงเวลาสั้นๆ ร่วมกันท่องไปในธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของท้องไร่ท้องนา ก่อนจะจากกันในท้ายที่สุด นับเป็นยุคทองของเตรียมอย่างแท้จริงโดยเฉพาะช่วงปี 2520 – 2521 งานของเขาไปปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนมากมายหลายหัวไม่เว้นแม้แต่บนปกการ์ตูนเล่มละบาท ที่สำนักพิมพ์หวังขายชื่อของ “เตรียม ชาชุมพร” ตามกระแสนิยม

 

Sponsored Ad

 

        ในระยะหลัง งานของเตรียมเริ่มพัฒนาไปสู่นิยายภาพแนวสะท้อนสังคม โดยเตรียมนำเรื่องราวที่เขียนมาจากสังคมเมือง มีข้อสังเกตว่า เตรียมใกล้ชิดอยู่กับการงานของมูลนิธิเด็ก และบรรดาอาสาสมัครผู้ทำงานเพื่อสังคม ดังนั้น ข้อมูลของเขาหรือผู้ให้ข้อมูลแก่เขาจึงมาจากคนทำงานกลุ่มนี้ ทั้งนี้ นิยายภาพของเตรียม 4 เรื่องในแนวนี้ ได้แก่ “ย า ย จ๋า”, “ตากับหลาน”, “เพื่อนบ้านใหม่” และ “ตุ๊กตา ข า ด้ ว น ” ได้รับการรวมพิมพ์เป็นเล่ม และได้รับการยกย่องจากคณะผู้วิจัยของ สกว. ให้เป็นหนึ่งใน 100 ชื่อเรื่องหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

 

Sponsored Ad

 

        จากผลงานอันโดดเด่นในการสะท้อนภาพชีวิตชนบทได้อย่างน่าประทับใจนี่เอง ทำให้เตรียมได้รับเลือกให้เป็นผู้วาดภาพประกอบในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุด มานี-มานะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 และภาพประกอบใน “เรื่องสั้นชุดชีวิตชนบท” ซึ่งเป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ของกรมวิชาการ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยองค์การค้าของคุรุสภา เนื้อหาเป็นเรื่องราวการใช้ชีวิตอันรื่นเริงสดใสของบรรดาเด็กๆ ในชนบทภาคใต้ จากปลายปากกาของ “มานพ แก้วสนิท” นักเขียนผู้ถนัดเรื่องราวชีวิตชนบทเป็นพิเศษ

Sponsored Ad

.

        ที่ผ่านมา เตรียมย้ำเสมอว่า “การปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับเด็กก็เหมือนการให้ปุ๋ยต้นไม้ ผลออกมาก็เป็นผลไม้ที่สวยงาม มีเมล็ดกิ่งงอกออกมาเป็นพันธุ์ที่ดี การ์ตูนเป็นสื่อที่สำคัญมาก เพราะสามารถปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับเด็กได้ รูปแบบก็เชิญชวน และการเขียนการ์ตูนก็เหมือนกับการให้การศึกษาอีกระดับหนึ่ง”

        หลังสร้างงานมาเกือบสองทศวรรษ ในปี 2533 ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เมื่อเตรียมถูกรถโดยสารประจำทาง เ ฉี่ ย ว ช น ระหว่างทางกลับบ้าน เป็นเหตุให้นักเขียนหนุ่มวัย 38 ปี จ า ก ไ ป ตลอดกาล

        ทว่าสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยจางหายคือ ความตั้งใจที่อยากส่งมอบสิ่งดีๆ สู่เด็กและเยาวชน ดังเช่นที่เขาเคยเอ่ยกับคู่ชีวิต ‘สุจินดา อัศวไชยชาญ’ ว่า “หาก ต า ย ไปกลัวอย่างเดียว จะไม่มีใครสืบทอดงานเขียนนิยายภาพ” ซึ่งกาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า งานของเตรียมไม่เคย ต า ย และมีผู้พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ต่อไป ไม่มีวันจบสิ้น

ข้อมูลและภาพจาก เรื่องเล่าชาวสยาม

บทความที่คุณอาจสนใจ