จากเพื่อนเล่นเทนนิส สู่ "รักแท้" ในชีวิตจริง "จักรพรรดินีมิชิโกะ" ซินเดอเรลล่าญี่ปุ่น ชีวิตในวังที่โรยด้วยขวากหนาม

คอมเมนต์:

ชีวิตรักของ “จักรพรรดิอากิฮิโตะ-จักรพรรดินีมิชิโกะ” จากสนามเทนนิสสู่ราชบัลลังก์

        รักหวานในสนามเทนนิส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรักที่แสนยาวนานจวบจนทุกวันนี้ของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น ดูเหมือนจะลงเอยแบบแฮ็ปปี้เอนดิ้งในสายตาของใครๆ ด้วยพระราชพิธีอภิเษกสมรสอันแสนงดงามและตราตรึงใจ หลังจากที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคความรักต่างๆ นานามาไม่น้อย

        แต่แท้จริงแล้ว ชีวิตจริงช่างแตกต่างจากในนิยายรัก เพราะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบไปตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ “มิชิโกะ โชดะ” (พระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ) ซึ่งเปรียบดั่งซินเดอเรลล่าแห่งแดนอาทิตย์อุทัย จากหญิงสามัญชนสู่เจ้าหญิง และพ่วงตำแหน่งว่าที่จักรพรรดินีในอนาคต อีกทั้งยังเป็นหญิงสามัญชนคนแรกของญี่ปุ่นที่ต้องพลิกชีวิตเข้าสู่รั้ววังหลวงที่เต็มไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี

 

Sponsored Ad

 

.

        หลังการอภิเษกสมรส มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ และเจ้าหญิงมิชิโกะ ทรงย้ายเข้าไปประทับอยู่ที่พระราชวังโทงู ไม่มีใครรู้ว่าชีวิตในวังของเจ้าหญิงมิชิโกะต้องทรงพบเจอกับอะไร ยิ่งข่าวที่แพร่ออกมานอกรั้ววังเป็นระยะมีแต่เรื่องน่ายินดี เช่น หลังอภิเษกสมรสได้เพียงปีเดียว เจ้าหญิงก็ทรงสร้างความเบิกบานใจให้แก่ประชาชนด้วยการให้กำเนิดพระโอรสองค์แรก เจ้าชายนารุฮิโตะ (มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน ซึ่งจะทรงขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) ต่อด้วยเจ้าชายอากิชิโนะ และเจ้าหญิงซายาโกะ (ปัจจุบันคือ นางซายาโกะ คุโรดะ)

 

Sponsored Ad

 

        หรือการที่มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระองค์นอกกรอบจารีตของวังหลวงด้วยการเลี้ยงพระโอรสเอง โดยไม่พึ่งข้าราชบริพาร ต่างจากเดิมที่ต้องแยกพระโอรสจากพระชนก พระชนนี เพื่อให้พระพี่เลี้ยงเป็นผู้ถวายการดูแล รวมทั้งการที่เจ้าหญิงทรงเลี้ยงพระโอรส-ธิดาด้วยพระเกษียรธารา (น้ำนม) ของพระองค์  ส่งพระโอรส-ธิดาเข้าศึกษาที่โรงเรียนแทนการจ้างครูมาสอนในวัง เรื่องราวเหล่านี้คือมิติของ ‘ญี่ปุ่นใหม่’ ที่ประชาชนต่างรู้สึกยินดีอย่างยิ่งเมื่อได้รับรู้

 

Sponsored Ad

 

        และเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคตในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 แล้วมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะเสด็จฯขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ พระองค์ที่ 125 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ขณะที่มกุฎราชกุมารีมิชิโกะก็ขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น พร้อมกับทรงย้ายเข้าไปประทับ ณ พระราชวังอิมพีเรียล พระราชวังหลวงในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นหนึ่งในที่ดินผืนที่แพงที่สุดในโลก นี่จึงราวกับเทพนิยายฝันหวานที่ใครได้ยินเป็นต้องอิ่มเอิบ

        ทว่าในความเป็นจริง เทพนิยายรักแห่งราชวงศ์เบญจมาศไม่ได้งดงามอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะข่าวลือที่ว่าสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง พระราชชนนี ไม่โปรดพระสุนิสา เป็นเรื่องจริง โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ได้ออกมารายงานในปี 2543 หลังการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุงว่า พระองค์ทรงต่อต้านการอภิเษกสมรสอย่างแข็งขัน เพราะคาดหวังอยากได้พระสุณิสาที่มาจากเชื้อพระวงศ์ด้วยกัน เหมือนที่พระองค์ทรงสืบสายพระโลหิตเป็นเจ้าหญิงแห่งคุนิ

 

Sponsored Ad

 

        สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุงทรงมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ทรงหวาดกลัวว่าราชสำนักแบบโบราณที่ทรงรักษาไว้จะสั่นคลอน ยิ่งวิทยาลัยที่เจ้าหญิงมิชิโกะได้รับการศึกษามาเป็นวิทยาลัยโรมันคาทอลิก ก็ยิ่งทรงหวาดกลัวว่าประเพณีคริสต์คาทอลิกจะเข้ามาแทรกซึมในราชสำนัก

 

Sponsored Ad

 

        ความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดินีโคจุงกับเจ้าหญิงมิชิโกะจึงเต็มไปด้วยความตึงเครียด จักรพรรดินีทรงวิจารณ์แทบจะทุกเรื่องที่เจ้าหญิงทรงกระทำ ทั้งเรื่องที่ทรงดูแลพระโอรส-ธิดาเอง ทรงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทรงอุ้มพระโอรสไปในที่สาธารณะ ซึ่งขัดกับโบราณราชประเพณีของราชวงศ์ญี่ปุ่นที่ราชวงศ์ฝ่ายในต้องทรงเก็บเนื้อเก็บตัวสงบเสงี่ยมต่อหน้าสาธารณชน ฯลฯ

        ข้าราชสำนักอาวุโสเล่าว่าเจ้าหญิงมิชิโกะทรงเคยบันทึกไว้ในไดอารีว่า พระสัสสุมักส่งนางสนองพระโอษฐ์เข้ามาสืบเรื่องส่วนพระองค์  แม้มกุฎราชกุมารและเจ้าหญิงมิชิโกะจะทรงเคยขอปลดนางสนองพระโอษฐ์คนนี้ แต่สำนักพระราชวังไม่อนุญาต ส่งผลให้เจ้าหญิงทรงน้ำหนักลด และทรงเกิดภาวะเครียดจนประชวรด้วยโรคซึมเศร้าอยู่หลายปี

 

Sponsored Ad

 

        นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่าในปี 2506 หลังจากเจ้าหญิงมิชิโกะทรงมีพระประสูติการพระโอรสองค์แรกได้ 3 ปี พระองค์ทรงประชวรจนสูญเสียความสามารถในการพูดไปนานถึง 7 เดือน สิ่งที่น่าตกตะลึงคือมีสื่อนำเหตุหนึ่งมาผนวกกับอีกเหตุหนึ่ง เพราะปี 2506 นี้เช่นกันที่มีการรายงานข่าวว่า มกุฎราชกุมารีมิชิโกะทรงยุติการตั้งพระครรภ์ ขณะทรงมีอายุพระครรภ์ได้สามเดือน โดยโฆษกที่ออกมารายงานข่าวกล่าวว่า

        “การดำเนินการดังกล่าวได้รับคำปรึกษาจากศาสตราจารย์ทะกะชิ โคะบะยะชิ แพทย์ที่ทำการประสูติให้พระโอรสพระองค์แรก ที่มีพระชันษา 3 ปี ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะเจ้าหญิงซึ่งมีพระชนมายุ 28 พรรษา ทรงมีพระพลานามัยที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากประกอบพระกรณียกิจอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนทรงพระครรภ์” นั่นหมายถึงว่าสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงเคยแท้งมาแล้ว!

Sponsored Ad

        ว่ากันว่าสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุงทรงกดดันพระสุนิสาต่อเนื่องอยู่หลายสิบปี กระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคต และสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง ด้วยพระชนมพรรษาที่มากขึ้น กอปรกับพระพลานามัยที่เสื่อมถอย ทำให้พระองค์ทรงลดท่าทีแข็งกร้าวต่อพระสุนิสาลง กระทั่งปี 2543 พระองค์ก็เสด็จสวรรคต โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงประทับอยู่เคียงข้างจวบจนวินาทีสุดท้ายในพระชนม์ชีพ

        ปี 2550 สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่สื่ออังกฤษว่า...

        “After I married I experienced difficulties in my new life every day amid many demands and expectations. I never expressed it in terms of the word “pressure. I just felt sad and sorry for not living up to people’s expectations and demands…I feel the same way even now.”

        “หลังแต่งงาน ข้าพเจ้าได้เผชิญกับความยากลำบากอย่างมาก มีแต่คนเรียกร้องและคาดหวังสิ่งต่างๆ แต่ทั้งนี้ข้าพเจ้าไม่ได้มองทุกอย่างในฐานะความกดดัน แค่รู้สึกเศร้าและเสียใจที่ไม่สามารถทำตามที่ผู้คนคาดหวังและต้องการได้หมด และตอนนี้ก็ยังรู้สึกแบบนั้นอยู่”

ข้อมูลและภาพ จาก praew

บทความที่คุณอาจสนใจ