เปิด "ค่าชดเชย" พนักงานการบินไทย หลังสหภาพฯ เตรียมปลดพนักงานกว่า 6,000 คน

คอมเมนต์:

“วันนี้ต้องพูดความจริงที่เจ็บปวด ผมในฐานะประธานสหภาพต้องพูดเพื่อให้พนักงาน รับรู้ความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้พนักงานได้เตรียมตัวเตรียมใจ.. ก่อนสหภาพจะถูกยุบ” นายนเรศ กล่าว

    สหภาพแรงงานการบินไทยเปิดตัวเลขชดเชยหากจะต้องถูกเลิกจ้าง หลังเจ้าจำปีถูกเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู และพ้นรัฐวิสาหกิจ เผยรับเงินชดเชยตั้งแต่ 30-400 วัน

    จากกรณีหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ บมจ.การบินไทย เข้าสู่กระบวนการศาลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย 2483 และเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง ถือหุ้นในการบินไทยน้อยกว่า 50% ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

 

Sponsored Ad

 

    ล่าสุด เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า หลังจาก บมจ.การบินไทย เข้ากระบวนการฟื้นฟูตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย จะทำการหยุดการจ่ายหนี้ทุกอย่าง และรีเซตทุกอย่างใหม่ เช่น มูลหนี้ พนักงานกว่า 20,000 คน จะต้องถูกปลดอย่างน้อย 30% หรือประมาณ 6,000 คน โดยจ่ายค่าชดเชย 10 เดือน ตามกฎหมายแรงงาน ปรับโครงสร้างบริษัท เส้นทางการบิน โดยทุกอย่างต้องผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ก่อน ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาในดำเนินการฟื้นฟูประมาณ 1 ปี

    เมื่อวานนี้ นายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ระบุว่า หลังจากที่การบินไทยเข้าสู่ขบวนการฟื้นฟูกิจการภายในศาลล้มละลายกลาง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และหลุดพ้นจากพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ทำให้สิทธิคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายดังกล่าวจะหมดไปด้วย โดยอาจจะเข้าสู่สิทธิ์ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แทน ซึ่งขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการตัวแทนที่เข้ามาบริหารแผนจะเข้ามาปรับโครงสร้างองค์กรทุกหน่วยงาน เพื่อให้กิจการของบริษัทกลับมาเดินต่อไปได้

 

Sponsored Ad

 

    ทั้งนี้ ในส่วนของบุคคลากรของบริษัทซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 2.1 หมื่นคน ต้องยอมรับว่าบางส่วนอาจจะต้องถูกเลิกจ้างในระหว่างที่บริษัทกำลังจะเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของนายจ้าง ที่จะบอกเลิกจ้าง ก่อนที่พนักงานจะอายุครบเกษียณ ส่วนโครงการร่วมใจจากองค์กรคงไม่มีแน่นอน

 

Sponsored Ad

 

    โดยสหภาพฯ ขอชี้แจงว่า พนักงานทุกคนที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกัน โดยจะมีหลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็นดังนี้

    ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน

    ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน

    ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน

    ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน

 

Sponsored Ad

 

    ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน

    ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน

    สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ

 

Sponsored Ad

 

    “วันนี้ต้องพูดความจริงกับเพื่อนพนักงาน มันเป็นความจริงที่เจ็บปวด ผมในฐานะประธานสหภาพไม่อยากจะพูด แต่ผมต้องพูดเพื่อให้พวกเราพนักงาน รับรู้ความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อเพื่อนพนักงานจะได้วางแผน และเตรียมตัวเตรียมใจ รองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงกับพวกเราต่อจากนี้ นี่คือภารกิจสุดท้ายที่ผมจะทำได้ ก่อนสหภาพถูกยุบ” นายนเรศ กล่าว

ที่มา : sanook, SAEED KHAN, AFP

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ