ไขข้อสงสัย ประวัติผู้หญิงบนขวด "ซอสหอยนางรม" ตราแม่ครัว ซอสคู่ครัวคนไทยมากกว่า 30 ปี

คอมเมนต์:

เผยแล้ว ผู้หญิงบนขวด "ซอสหอยนางรม" ตราแม่ครัวคือใคร กินมา 30 กว่าปี วันนี้เปิดหมดเปลือก

    ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความ เมื่อเธอเกิดความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวอย่าง ฉลากซอสหอยนางรมตราแม่ครัว โดยข้องใจว่าฉลากซอสหอยนางรม มีแม่ครัวถือขวดซอสกี่ชั้น? เธอจึงเอาความข้องใจนั้นมาถามตอบในโลกโซเชียลซะเลย 

    ซึ่งคำถามของเธอมีอยู่ว่า...

 

Sponsored Ad

 

    “สงสัยมานานละว่าที่ฉลากข้างขวดซอสหอยนางรมตราแม่ครัวจะเป็นรูปแม่ครัวถือซอสตราแม่ครัว แล้วขวดซอสที่แม่ครัวถือก็เป็นรูปแม่ครัวถือซอสตราแม่ครัว แล้วขวดซอสของขวดซอสที่แม่ครัวถือก็เป็นรูปแม่ครัวถือซอสตราแม่ครัว… สงสัยมาตั้งแต่ 5 ขวบ จนตอนนี้ 26 ขวบ วิเคราะห์ไม่ตกจริงๆ ว่าขวดๆ นึงมีแม่ครัวซ้อนในขวดของในขวดของในขวดของในขวดของในขวด….กี่คน”

 

.

 

Sponsored Ad

 

     เมื่อโพสต์นี้ถูกแชร์ออกไป ดันเกิดคำถามใหม่ที่น่าสนใจขึ้นมาอีกว่า แล้วผู้หญิงที่ถือขวดซอสตราแม่ครัวในโลโก้อันนี้ เป็นใครกัน สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับชาวโซเชียลเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้เรามีคำตอบมาให้ได้รู้กันแล้ว 

 

Sponsored Ad

 

     เชื่อว่า “ภาพหญิงวัยกลางคนใส่เสื้อสีแดง คลุมทับด้วยผ้ากันเปื้อนสีขาวยืนปรุงอาหาร” เป็นที่คุ้นตาของคนไทย มาไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว เพราะนี่ คือโลโก้สินค้า ที่สร้างการจดจำของ ซอสหอยนางรมตราแม่ครัว และเครื่องปรุงรสต่างๆในกลุ่มตราแม่ครัวฉลากทอง


    โดยได้คำตอบจากทาง บริษัท ตราแม่ครัว จำกัด ดังนี้ว่า แท้จริงแล้วหญิงวัยกลางคนใส่เสื้อสีแดง คลุมทับด้วยผ้ากันเปื้อนสีขาว ถือขวดซอสยืนปรุงอาหารในโลโก้นั้น คือ คุณแม่ง้วย กาญจนวิสิษฐผล ผู้คิดค้นสูตรต้นกำเนิดซอสหอยนางรมและผู้ก่อตั้งบริษัท ตราแม่ครัว จำกัด เจ้าของสินค้าตราแม่ครัว และแม่ครัวฉลากทอง

 

Sponsored Ad

 

 

    ซึ่งประธานกรรมการบริษัท ณ ขณะนี้ก็คือ “คุณเศรษฐี กาญจนวิสิษฐผล” ผู้บริหารรุ่นที่สอง ที่รับหน้าที่สืบทอดงานจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่ (คุณพ่อสถิตย์ – คุณแม่ง้วย กาญจนวิสิษฐผล) 

 

 

Sponsored Ad

 

    และวันนี้มีข้อมูลมาให้ได้หายสงสัยกันด้วยว่า ต้นกำเนิดของซอสหอยนางรมเกิดมาได้อย่างไร ทำไมถึงเป็นซอสหอยนางรม และประวัติการก่อตั้งบริษัท ซึ่งเป็นข้อมูลจากทางบริษัท ตราแม่ครัว จำกัด โดยตรง 

    คุณเศรษฐีเล่าถึงครอบครัวว่า “ผมเติบโตที่จังหวัดชลบุรีบ้านที่มีลูก 8 คน ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน แม่เปิดร้านขาย อาหารทะเลแห้งและมีหอยนางรมสด ซึ่งเป็นงานที่ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ ผมกับพี่น้องผู้ชายมีหน้าที่ออกเรือเพื่อที่จะไปทุบหอยนางรมมาให้กลุ่ม ผู้หญิงแกะขายสดๆ หน้าร้าน ซึ่งบางครั้งเราก็ขายของที่ได้มาไม่หมด จึงต้องคิดค้นวิธีถนอมอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะเอาไปดอง แต่เมื่อของมันเยอะ คุณพ่อก็คิดว่าจะดัดแปลงหอยนางรมให้กลายเป็นเครื่องปรุงเหมือนกับซีอิ๊ว จึงลองนำไปกวน จากนั้นก็พัฒนาสูตรและกรรมวิธีมาเรื่อยๆ จน กลายเป็นซอสหอยนางรมและใช้ชื่อตราแม่ครัวจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย” 

 

Sponsored Ad

 

 จากที่เคยคิดแค่เพียงต้องการถนอมอาหาร กลับกลายเป็นเกิดสินค้าใหม่ พื้นที่แกะหอยนางรมสดในบ้านถูกแบ่งไว้สำหรับขายซอสเพิ่ม เติม มีโรงงานขนาดย่อมอยู่หลังหนึ่งชื่อ “จิ้วฮวด” ซึ่งหมายถึง เจริญทันทีทันใด

    “เนื่องจากซอสหอยนางรมเป็นสินค้าใหม่ ช่วงแรกๆ จึงขายดีมาก กลายเป็นของที่ต้องมีติดบ้านเช่นเดียวกันน้ำปลา เราเริ่มต้นจากขาย ให้ร้านอาหารละแวกบ้านก่อน เพราะแถบชลบุรีมีร้านอาหารใหญ่ๆ อยู่มากจึงทำให้คนรู้จักเราอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าเดิม ของคุณแม่ และโชคดีชั้นที่สองก็คือ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ท่านซื้อไปทดลองรับประทาน และนำไปเขียนลงในหนังสือ ฟ้าเมืองไทย ในขณะนั้น พร้อมให้เครื่องหมายเชลล์ชวนชิม ซอสของเราจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง” 

Sponsored Ad

     เมื่อถามถึงที่มาของเครื่องหมายการค้าที่แสนจะคุ้นเคย ก็ได้คำตอบว่า “เราตั้งโรงงานในปี 2519 เป็นแหล่งผลิต แล้วขายผ่านตัวแทน จำหน่ายดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโลโก้ยี่ห้อของตัวเอง เราพยายามหาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้คนจำได้ สรุปว่าคุณแม่ที่ขายของอยู่หน้าร้านนี่แหละ คือสัญลักษณ์ของเรา จึงตกลงกันว่าจะใช้ภาพของคุณแม่เป็นตราสินค้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”

 

 

    ในปี 2525 ครอบครัวกาญจนวิสิษฐผลตัดสินใจเปิดบริษัทจำหน่ายผลิตภันฑ์ บริษัทจิ้วฮวด จำกัด และบริษัทชลบุรี ตราแม่ครัว ฉลากทองจำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภันฑ์ “ตราแม่ครัว” “ตราฉลากทอง” และ “ตราแม่ครัวฉลากทอง” โดยผลิตสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้แก่ซอสพริก ซอสปรุงรส แป้งทอดกรอบ และน้ำส้มสายชู รวมทั้งได้ขยายกิจการเปิดโรงงานทำน้ำปลาและซีอิ๊วขาวอีกด้วย

ที่มา : LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ