"การทำโทษลูกทางร่างกาย" อาจไม่ทำให้เด็กดีขึ้น ลองใช้วิธีนี้ ได้ผลดีกว่าเดิมหลายเท่า!

คอมเมนต์:

ใครตีลูกหรือเคยถูกตีบ้าง...อ่านทางนี้!

        เมื่อลูกทำผิด ไม่เชื่อฟัง และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นธรรมดาที่พ่อแม่ต้องทำโทษลูกน้อย บ่อยครั้งที่พ่อแม่บางคนเลือกที่จะตีลูก บางคนคุยอย่างมีเหตุผลกับลูก บางคนตีด้วยความโมโห ไม่พอใจ บางคนตีลูกเพราะตอนเด็กๆ ก็โดนตีมาถึงเป็นแบบนี้ แล้วคุณรู้ไหมว่า ทำโทษลูกด้วยการตีดีหรือไม่ ถ้าตีบ่อยๆ ลูกจะดีขึ้นหรือเปล่า?

        ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจในระยะยาวของคนกลุ่มหนึ่งจำนวน 8,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 19-97 ปี เพื่อศึกษาการล่วงละเมิดทางด้านร่างกายและจิตใจ และการถูกทอดทิ้งในเด็ก หรือประสบการณ์ความทรงจำที่ทำร้ายร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก พบว่า นอกจากจะส่งผลทางด้านร่างกายเช่น รอยแผลเป็น ยังจะส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยผู้ใหญ่อีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

        โดยทีมนักวิจัยได้ให้ข้อสรุปหลักๆ 5 ข้อดังนี้

1. การลงโทษลูกทางร่างกาย อาจไม่ได้ทำให้เด็กมีพฤติกรรมดีขึ้น

        การศึกษาเผยให้เห็นว่า การลงโทษเด็กเช่นการตี หรือทำร้ายร่างกายในรูปแบบอื่น จะส่งผลกับเด็กในระยะยาว เพราะเขาจะไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำลงไปนั่นผิดเพราะอะไร เพียงแต่รับรู้ว่าทำลงไปแล้วจะโดนทำร้ายเท่านั้น ส่งผลให้กลายเป็นเด็กที่ไม่กล้า ไม่ประสบความสำเร็จเลยสักอย่าง สิ่งที่เหมาะสมคือ พูดคุยด้วยเหตุผลกับลูก เพราะพวกเขาแค่ต้องการเหตุผลว่าทำไมถึงทำแบบนั้นไม่ได้เท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

2. การตีลูกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงและการท า รุ ณ ก ร ร ม

        พ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ มักจะเพิ่มแรงในการตีหรือลงโทษลูกมากขึ้นทุกครั้งที่เขาทำผิดแบบเดิม ด้วยความหวังว่าเขาจะเกรงกลัวและเชื่อฟังมากขึ้น แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเด็กถูกลงโทษหนักขึ้นเรื่อยๆ อาจนำไปสู่การท า รุ ณ ก ร ร มเด็กและส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวได้

 

Sponsored Ad

 

3. เด็กที่ถูกตีบ่อยๆ มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนก้าวร้าวหรือหัวรุนแรง

        เด็กๆ ที่มักจะถูกลงโทษทางร่างกายมักจะมีแนวโน้มที่จะลงไม้ลงมือหรือก่อความรุนแรงกับคนใกล้ชิดหรือลูกๆ ของพวกเขาในอนาคตด้วย เพราะเด็กๆ เหล่านี้มักจะเรียนรู้และซึบซับอิทธิพลมาจากพ่อแม่ เมื่อเขาได้เห็นว่าผู้ปกครองใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา พวกเขาก็จะเรียนรู้และทไแบบนั้นบ้าง

 

Sponsored Ad

 

4. เด็กที่ถูกทำโทษด้วยการตีบ่อยๆ จะทำให้เขามีโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าสูง

        เด็กที่ถูกตีอาจนำไปสู่ประสบการณ์ความทรงจำที่ทำร้ายร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ ความฝังใจนั้นอาจทำให้เด็กเหล่านี้มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าได้ พวกเขารู้สึกไม่ได้รับความรักและมองเห็นแต่สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ส่งผลต่อการเข้าหาสังคมและการดำเนินชีวิตในอนาคต

 

Sponsored Ad

 

5. มีแนวโน้มทำให้เด็กป่วยหรือเป็นโรคได้ง่าย

        การถูกลงโทษบ่อยๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กสะสมความเครียดและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง ส่งผลให้เด็กเหล่านี้มักจะร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคหรือป่วยได้ง่าย ทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลงไปอีก

        จริงๆ แล้วการลงโทษลูกไม่ได้มีแค่วิธีการตีอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีวิธีอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถลงโทษลูกของเรา 5 ข้อดังนี้...

 

Sponsored Ad

 

        - หากอยู่ในสถานการณ์ที่คุณกำลังหมดความอดทน

        หยุดคิดกับตัวเองว่า สิ่งที่ลูกทำนั้นเกิดขึ้นจากวัยของเด็กหรือไม่ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมคนรอบข้างตัวเขา การฉุกคิดจะทำให้คุณใจเย็นลง ทำให้คุณสามารถรับมือได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง

        - หากอยู่ในสถานการณ์ที่คุณบอกกล่าวลูกหลายรอบแล้ว แต่เขาไม่ทำตาม

Sponsored Ad

        ไม่ควรคิดไปเองว่าเด็กรู้อยู่แล้ว เมื่อกล่าวในทีแรกแล้วเด็กไม่ฟัง ลองเปลี่ยนคำพูดของคุณดู แต่คงความหมายเดิมไว้ เช่น แทนที่จะพูดว่า "เล่นกันดีๆ นะ" เปลี่ยนไปเป็น "อย่าหยิกน้องนะ จะทำให้น้องเจ็บ" เป็นต้น

        - หากอยู่ในสถานการณ์ที่เด็กกำลังจะโวยวายหรืออยู่เหนือการควบคุม

        การเดินหนีหรือทำเป็นไม่สนใจอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม ลองเปลี่ยนมาหายใจเข้าลึกๆ สบตากับลูก และปรับเสียงให้ต่ำให้เขารู้ว่าเรากำลังจริงจัง ความจริงจังและความสงบจะทำให้เด็กกลับมาเชื่อฟังและสนใจเรามากขึ้นอีกครั้ง

        - ลูกมีอารมณ์แปรปรวนง่าย

        ให้พาลูกออกมาจากสถานการณ์หรือบริเวณนั้นๆ ให้เขาใจเย็นลง และค่อยอธิบายดีๆ ด้วยน้ำเสียงจริงจังแต่ไม่ถึงกับดุว่าทำไมถึงไม่เหมาะสม 

        - ลูกที่เริ่มโตเป็นวัยรุ่นแล้ว แต่ไม่เชื่อฟัง

        บางครั้ง ลองปล่อยให้เขาออกไปเผชิญหน้ากับเรื่องผิดพลาดที่เขาก่อ หากมั่นใจว่าสิ่งนั้นๆ จะไม่ได้ทำร้ายเขาโดยตรง แต่สามารถให้ประสบการณ์เขาได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และไม่ควรกล่าวคำว่า "แม่/พ่อ บอกแล้ว" เด็ดขาด แต่ควรให้กำลังใจและอธิบายเหตุผลว่าทำให้สิ่งนั้นจึงไม่เหมาะสม

        การปรับพฤติกรรมเด็กนั้นหากจะทำให้ได้ผลดี ต้องทำด้วยพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เด็กจะต่อต้านน้อยกว่า เชื่อฟังและมีความเกรงใจมากกว่า และต้องเริ่มทำตั้งแต่เด็กยังเล็ก ที่สำคัญสิ่งที่เด็กทำได้ดีก็ต้องชมเชยด้วย ใช่ว่าจะมองหาสิ่งที่เด็กทำผิดอย่างเดียวค่ะ


ที่มา : brightside

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ