ชื่มชม "ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์" คว้ารางวัลนักวิทย์แพทย์เกียรติยศ ผู้พัฒนายาต้านเอดส์-มาลาเรีย

คอมเมนต์:

เหมาะสมอย่างยิ่ง ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ด้วยนะคะ

    กลายเป็นพูดถึงในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก สำหรับ "นพ.สถาพร วงษ์เจริญ" ประธานกรรมการมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า มูลนิธิฯ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชิดชู ศ.(พิเศษ) ดร.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์ มูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2566 

    ซึ่งเป็นผู้อุทิศตนในการพัฒนาและผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ได้แก่ ยาสามัญเอแซดที (AZT) ป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ยาสูตรผสมรวมเม็ดต้านเอดส์หรือจีพีโอเวียร์ (GPO-VIR) และยาต้านเอดส์ชนิดอื่นอีก 5 ชนิด ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตยาต้านเอดส์ที่มีคุณภาพดี ราคาถูกกว่ายานำเข้าจากต่างประเทศ 5 ถึง 20 เท่า สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทยจำนวน 150,000 คน และยาจีพีโอเวียร์ถูกบรรจุในโปรแกรมการให้ยาต้านเอดส์แห่งชาติฟรี รวมทั้งร่วมก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านโรคเอดส์

 

Sponsored Ad

 

    นพ.สถาพรกล่าวว่า ยังมีการพัฒนายาต้านมาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในทวีปแอฟริกา พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ฝึกสอนบุคลากรของโรงงานผลิตยา โรงพยาบาล และสถาบันวิจัยและควบคุมคุณภาพยาแห่งชาติ ในทวีปแอฟริกา จำนวน 17 ประเทศ ให้สามารถผลิตยาต้านเอดส์และยารักษาโรคมาลาเรียช่วยชีวิตผู้ป่วยชาวแอฟริกาได้หลายล้านคน 

 

Sponsored Ad

 

    รวมถึงร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรของไทย ผลิตยาสมุนไพรไทย 4 ตำรับ เพื่อใช้รักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพของคนไทยในท้องถิ่นทุรกันดาร ก่อตั้งหน่วยฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยยาเสพติดด้วยสมุนไพรและพัฒนาทักษะการปลูกพืชสมุนไพรแบบเกษตรอินทรีย์สำหรับผู้ป่วยยาเสพติด ภายใต้ชื่อ “สวนสราญรมย์โมเดล” เพื่อคืนคนดีสู่สังคม

    นอกจากนี้ ยังดำเนินการโมเดลอื่นๆ ได้แก่ ลังกาสุกะโมเดล ภูกามยาวโมเดล จัมปาศรีโมเดล ช้างเผือกโมเดล และสามหมื่นโมเดล เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประโยชน์ของสมุนไพรไทย อีกทั้งยังได้ก่อตั้งหน่วยฝึกอบรม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่ศึกษาด้านเภสัชศาสตร์และชาวแอฟริกาเดินทางมาเรียนรู้และฝึกงานการผลิตยาสมุนไพรในขั้นอุตสาหกรรม ถือเป็นคุณูปการในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยและประเทศอื่นทั่วโลก ผลงานที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง เป็นประโยชน์ต่อคนไทยและมนุษยชาติในการรักษาและควบคุมโรค ทำให้มียาคุณภาพดีทัดเทียมกับต่างประเทศออกสู่ตลาดมากขึ้นและมีราคาถูกลง

 

Sponsored Ad

 

    ทั้งนี้ จะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลจากคุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ รองประธานบริหารอาวุโส สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31 ในวันที่ 21 มิ.ย.2566

 

Sponsored Ad

 

    ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ศ. (พิเศษ) ดร.ภญ.กฤษณา มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในสาขาเภสัชศาสตร์อย่างลึกซึ้ง สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยด้านสมุนไพร ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์และเพื่อนร่วมอาชีพ

    ผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับทั้งผลงานด้านวิชาชีพ ด้านวิชาการ ด้านบทความ งานวิจัย งานด้านมนุษยธรรม และมีบทความทางวิชาการกว่า 100 เรื่อง ทำให้บุคคลที่เจ็บป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถหายจากความทุกข์ทรมานและโรคร้าย กลับมามีชีวิตที่เป็นสุข 

 

Sponsored Ad

 

    ยังเคยได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รางวัลสูงสุดคือรางวัลรามอน แม็กไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2552 สำหรับการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ “Smart Medical Sciences : Health for Wealth วิทยาศาสตร์การแพทย์ชาญฉลาด เพื่อสุขภาพที่ดีและเศรษฐกิจมั่งคั่ง” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 23 มิ.ย. 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

ที่มา : สำนักข่าวไทย

บทความแนะนำ More +