เปิดที่มา ฉลองพระองค์ "พระราชินี" สุดงดงามสีเขียวทอง แฝงนัยยะสำคัญ เสด็จสถานทูตออสเตรเลีย

คอมเมนต์:

เปิดที่มา ฉลองพระองค์ "พระราชินี" สุดงดงามสีเขียวทอง แฝงนัยยะสำคัญ เสด็จสถานทูตออสเตรเลีย

    เรียกได้ว่าลึกซึ้งเลยทีเดียว สำหรับฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จฯ พบทูตออสเตรเลีย ทรงเลือกผ้าไหมมัดหมี่สัญลักษณ์ประเทศไทย และทรงเลือกใช้สีเขียวและสีทอง ซึ่งเป็นสีประจำชาติของประเทศออสเตรเลีย

    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อไม่นานมานี้ แฟนเพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เปิดเผยถึงที่มาฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ว่า "ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ร่าย ลายสำเภาหลงเกาะ สีเขียว เกล็ดหมี่สีทอง" ในการเสด็จพระราชดำเนิน ณ สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย

 

Sponsored Ad

 

    ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ทรงเล็งเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บวกกับทรงมีพระราชปณิธานมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ผ้าไทย จึงทรงเลือกสวมใส่ฉลองพระองค์ที่สื่อความหมายไมตรี ซึ่งเปี่ยมไปด้วยรายละเอียดแฝงนัยยะลึกซึ้ง ซึ่งสีเขียวและสีทอง "ซึ่งเป็นสีประจำชาติของประเทศออสเตรเลีย"

     โดยประเทศออสเตรเลียมีสีประจำชาติ คือ สีเขียวเข้มและสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีของดอก Golden Wattle "ดอกไม้ประจำชาติออสเตรเลีย" ออสเตรเลียประกาศใช้สีเขียวเข้มกับสีเหลืองทอง เป็นสีประจำชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1984 การติดต่อค้าขายในอดีตจะใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก ด้วยออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีทะเลล้อมรอบ 

 

Sponsored Ad

 

    "สำหรับผ้าไหมมัดหมี่ร่ายลายสำเภาหลงเกาะ เป็นมัดหมี่ลายโบราณ ที่ช่างทอจินตนาการถึงเรือสำเภากางใบพัด แล่นกลางแม่น้ำใหญ่ สำเภายังเปรียบเสมือน ธุรกิจ การค้า การงาน ให้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ปราศจากอุปสรรคต่างๆ หมี่ร่าย เป็นหนึ่งในเทคนิคมัดหมี่ คือ กระบวนการสร้างลวดลายให้บรรจบกันต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยใช้กรรมวิธีการตั้งแต่การค้นลำหมี่ โดยมีเครื่องค้นหมี่หรือโฮงค้นหมี่ จะมีลักษณะเป็นกรอบไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 60-80 เซนติเมตร ยาว 1.02 เมตร (ความยาวเท่ากับความกว้างของผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว)"

 

Sponsored Ad

 

    วิธีการค้นหมี่ จะเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้แล้วมามัดกับหลักหมี่ด้านล่างก่อน แล้วพันรอบหลักหมี่ไปเรื่อย ๆ เรียกว่า การก่อหมี่ การค้นหมี่จะต้องค้นจากล่างขึ้นบน หรือบนลงล่างจนกว่าจะครบรอบที่ต้องการ จะเรียกแต่ละจำนวนว่าลูก หรือลำ ถ้าก่อหมี่ผูกเส้นไหมด้านขวา ก็ต้องวนซ้ายมาขวาทุกครั้ง ควรผูกเส้นไหมทุกลูกไว้ด้วยสายแนม เพื่อไม่ให้หมี่พันกัน หรือหลุดออกจากกัน ถือเป็นกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังถือเป็นเทคนิคขั้นสูงที่ต้องอาศัยความชำนาญและความประณีตอย่างมากในการทอ

 

Sponsored Ad

 

.

    นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ยังทรงคอมพลีทพระสไตล์ให้สมบูรณ์แบบด้วยเครื่องประดับมรกต ซึ่งประกอบด้วยสร้อยพระศอ และพระกุณฑลอีกด้วย

ที่มา : โบราณนานมา, We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ