ชาวบ้านสุดทน "ศาลาเหล็ก" กันแดดไม่ได้ แต่งบปาน 518 ล้านบาท สู้ศาลาไม้ 4 เสาไม่ได้

คอมเมนต์:

เป็นหมู่บ้านคุณยอมรับเหตุผลที่กรมทางหลวงให้ได้ไหม?

    เมื่อไม่นานมานี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ @เอกชัย พงษ์วิเศษ ได้โพสต์รูปภาพพร้อมระบุข้อความลงในกลุ่มเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ “SisaketToday” ว่า “ศาลาริมทาง ศรีสะเกษ-วังหิน เพื่อนเฟซคิดเช่นไร” ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่เป็นศาลาริมทางสร้างใหม่พร้อมถนน 4 เลน สายศรีสะเกษ-ขุขันธ์ ส่งผลทำให้ชาวเน็ตแห่เข้าไปแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา ถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ใช้สอยกันเป็นจำนวนมาก

    เช่น "ดูดีแต่ใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้"  

 

Sponsored Ad

 

    "พยายามมองหาประโยชน์แต่ไม่เจอ"  

    "ไม่เหมาะกับภูมิอากาศประเทศไทย"  

    "สวยงามแต่สู้ศาลาริมทางแบบเดิมไม่ได้ เนื่องจากสามารถหลบแดดหลบฝนได้ เปลืองงบ ต้องถามว่าทำเพื่ออะไร" 

    ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณถนนสายดังกล่าว พบศาลาริมทางหลายจุดที่ก่อสร้างแทนศาลาหลังเดิม พร้อมกับการสร้างถนน 4 เลน มีลักษณะคล้ายป้ายรถเมล์ มีขนาดความยาวประมาณ 4 เมตร กว้างประมาณ 1.5 เมตร เท่ากันกับหลังคา ซึ่งเล็กกว่าศาลาหลังเดิมมาก 

 

Sponsored Ad

 

    วัสดุส่วนใหญ่เป็นเหล็กและสแตนเลส หลังคาสูงโปร่ง ที่นั่งพักเป็นแผ่นเหล็กยาวประมาณ 3 เมตร ไม่สามารถกันฝนและกันแดดช่วงเช้าและบ่ายได้

    ซึ่งแผ่นเหล็กที่นั่งพักผู้โดยสารเมื่อถูกแดดส่องเป็นเวลานานจะร้อนจัดไม่สามารถนั่งพัก นอนพักได้ ชาวบ้านในพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้พักรอรถโดยสาร จึงพากันบริจาคเงินร่วมกันสร้างศาลาพักผู้โดยสารขึ้นมาเอง เพื่อใช้รอรถหลบแดดหลบฝน รวมถึงผู้ใช้รถที่สัญจรผ่านไปมาได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันขึ้นมาเอง

 

Sponsored Ad

 

    นายอำนาจ พันนา อายุ 60 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ เล่าว่า ที่พักผู้โดยสารที่สร้างใหม่ ตนมีความคิดเห็นว่าใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ ฝนตกก็อาศัยหลบฝนไม่ได้เลย เวลามีแดดก็อาศัยไม่ได้ จะใช้หลบแดดได้เวลาเดียวคือเวลาเที่ยง เนื่องจากพระอาทิตย์ตั้งตรงศีรษะ พี่น้องประชาชน นักเรียน นักศึกษา

    รวมทั้งผู้ขับขี่รถผ่านไปผ่านมา จะจอดพักผ่อน หลบแดด หลบฝนก็อาศัยไม่ได้ ซึ่งตนคิดว่าศาลาพักผู้โดยสารแบบเดิมดีกว่า เพราะว่ามีขนาดใหญ่หลบแดดหลบฝนได้จริง และพักได้หลายคน ถึงแม้จะไม่สวยงามเท่าหลังใหม่ แต่ก็ดีกว่าใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้

 

Sponsored Ad

 

.

    ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องใช้เป็นจุดนั่งพักรอรถโดยสาร จึงได้ร่วมกันบริจาคเงินทั้งหมู่บ้านระดมทุนในการก่อสร้างศาลาพักผู้โดยสารขึ้นมาเอง มูลค่า 19,000 บาท เพื่อเป็นจุดพักรอรถและจุดพักสำหรับผู้สัญจรผ่านไปมาได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งสามารถหลบแดดหลบฝนได้จริง ตนอยากฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ปรับปรุงแก้ไขศาลาพักผู้โดยสารให้เข้ากับสภาพพื้นที่และใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่แค่สวยงาม.


 

Sponsored Ad

 


   ซึ่งต่อมา นายสิริ สิงหรัตน์ นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง ผู้ช่วยนายช่างโครงการก่อสร้างทางสาย ศรีสะเกษ-อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ถนนสายดังกล่าวสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง เป็นผู้ออกแบบในการก่อสร้างทั้งหมด รวมทั้งศาลาพักริมทาง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง จำนวนกว่า 518 ล้านบาท

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนกรณีในเรื่องของศาลาพักริมทาง ที่เป็นกระแสในโซเชี่ยลขณะนี้นั้นเป็นการออกแบบรูปแบบใหม่และมีการก่อสร้างอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้มีความทันสมัย สวยงาม และเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของศาลา ซึ่งอาจจะดูเล็ก เนื่องจากสภาพพื้นที่เขตทางบางจุดคับแคบ และหากชาวบ้านมีความคิดเห็นใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้นั้น เป็นการก่อสร้างตามแบบ ซึ่งได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังสำนักสำรวจและออกแบบของกรมทางหลวง อีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป 

Sponsored Ad

     ทั้งนี้ศาลาพักริมทางรูปแบบเดิม เป็นศาลาไม้ 4 เสา หลังค่อนข้างใหญ่ แต่ด้วยระยะเวลานานหลายปี จึงเริ่มทรุดโทรมมีปลวกขึ้นทำให้ศาลาชำรุดทรุดตัวลง ประกอบกับยุคสมัยเปลี่ยนไป ทางสำนักสำรวจและออกแบบ จึงได้มีการออกแบบศาลาพักริมทางในรูปแบบใหม่ ให้ใช้งานได้นานขึ้น แข็งแรงและสวยงามมากขึ้น.

.

.

ที่มา : dailynews

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ